วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดอกสุพรรณิกา



ชื่อดอกไม้
    ดอกสุพรรณิการ์
วงศ์
    BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น
    ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ 
    Cochlospermum religiosum(L.) AlstonCochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.(ฝ้ายคำซ้อน)Cochlospermum gossypium De Candole (Syn. Maxmiliana gossypium Kuntze หรือ Bombax gossypium L.)

ชื่อสามัญ 
    Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood
ลักษณะทั่วไป
    เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว
การขยายพันธุ์ 
    โดยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด เป็น ไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กสูง 3-12 เมตร มีก้านใบสีแดงอมน้ำตาล ใบกลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉกลึก ขอบใบจักดอกออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่งและบานพร้อมๆกัน ไม่มีกลิ่น ขณะออกดอกจะสลัดใบหมด กลีบดอกสีเหลืองสด เกสรเหลือง แต่ส่วนโคนเกสรครึ่งล่างมีสีแดง รังไข่เกลี้ยง ผลสุกสีแดงอมเขียว เมื่อแก่จะแตก 5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตหุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ถิ่นเดิมจากอเมริกากลางและอเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ 
    ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง  
คุณประโยชน์ 
    สุพรรณิการ์(ฝ้ายคำ) นอกจากเป็นไม้ประดับแล้ว ยางจากต้นให้ผลิตผลเป็น Karaya gum หรือทางการค้าเรียกว่า Crystalgum เป็นก้อนผลึกสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู ใช้เป็นยาระบาย ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาเซทผม เป็นยาทาบำรุงผิว ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าและการพิมพ์ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ผสมไอศกรีมทำให้ข้น เนื้อไม้ต้มกับแป้งเป็นอาหาร ใบอ่อนใช้สระผม ดอกแห้งและใบแห้งใช้เป็นยาบำรุงกำลัง


ที่มา google.com/site/swnphvssastr54m2032/tn-su-phr-rni-kar
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น